มะม่วง นั้นเป็นไม้ผลที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศไทย แต่ดูเหมือนว่า การส่งออกมะม่วงไทยไปขายยังตลาดต่างประเทศ รวมทั้งญี่ปุ่น ยังมีปริมาณน้อยเกินไป มะม่วงนอกจากจะเป็นผลไม้ที่ผลิตเพื่อบริโภคในประเทศเป็นส่วนใหญ่แล้วนั้นยังเป็นผลไม้ที่มีศักยภาพในการส่งออกที่สำคัญอันดับต้นๆของไทย ตลาดส่งออกมะม่วงที่สำคัญของไทยได้แก่ มาเลเซีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น และฮ่องกง ส่วนตลาดมะม่วงกระป๋องที่สำคัญของไทยจะอยู่ในแถบสหภาพยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา โดยมีแนวโน้มการนำเข้าเพิ่มขึ้นทุกตลาด
การส่งออกมะม่วงของไทยส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปผลสด แห้งและมะม่วงกระป๋อง มูลค่าส่งออกมะม่วงละผลิตภัณฑ์รวมประมาณ 385 ล้านบาท สำหรับการส่งออกมะม่วงสดและแห้งของไทยยังมีปริมาณการส่งออกไม่แน่นอนเนื่องจากปัญหาคุณภาพของผลผลิต ที่เกิดจากการขนส่ง การบรรจุภัณฑ์ และแมลงวันทอง ในขณะที่มะม่วงกระป๋องมีปริมาณการส่งออกที่ค่อนข้างจะแน่นอนและมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี
ที่ผ่านมาไทยสามารถส่งออกมะม่วงไปจำหน่ายในญี่ปุ่นไม่ต้องเสียภาษี แต่ภายหลังการประกาศใช้ JTEPA ผู้ส่งออกต้องยุ่งยากและเสียเวลาในการจัดเตรียมเอกสารฟอร์ม A เพื่อขออนุญาตนำเข้ามะม่วง และบางครั้งลูกค้าเปลี่ยนใจต้องการสั่งซื้อสินค้าเพิ่ม บริษัทต้องปฏิเสธไปอย่างน่าเสียดายเพราะไม่สามารถยื่นขอเอกสารฟอร์ม A ตามระเบียบ JTEPA ได้ทันเวลา ทำให้ JTEPA กลายเป็น “ปัญหา” ปิดโอกาสทางการขายแทน จึงอยากเรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เร่งปรับปรุงระบบเอกสาร JTEPA ให้มีความยืดหยุ่นเพื่อเปิดโอกาสทางการค้ามากขึ้นในอนาคต
จุดแข็ง
จุดแข็ง
ในภาพรวม ผู้นำเข้าและผู้ซื้อญี่ปุ่นเห็นว่าสินค้าไทยมีคุณภาพดี มีมาตรฐานสูง
จุดอ่อน
ไทยยังมีปริมาณการส่งออกไม่แน่นอนเนื่องจากปัญหาคุณภาพของผลผลิต ที่เกิดจากการขนส่ง การบรรจุภัณฑ์ และแมลงวันทอง
โอกาส
- ญี่ปุ่นผลิตอาหารได้ไม่เพียงพอกับความต้องการบริโภค
- ถ้าเกษตรกรไทยเปลี่ยนมาใช้วิกฤติมาเป็นโอกาส ในขณะที่ราคาผลไม้ตกต่ำเช่นนี้ เปลี่ยนวิธีการผลิตแบบเอาเยอะไว้ก่อน มาเป็นเน้นคุณภาพให้ได้ผลผลิตสวย ๆ ใหญ่ ๆ ลดการใช้สารเคมี สารพิษ เพื่อลดต้นทุน โอกาสในการขายสินค้าได้ราคาดีก็ย่อมจะสูงมากขึ้นแน่นอน
อุปสรรค
- คู่แข่งอันดับต้นๆคือ ประเทศจีน
- การส่งออกมะม่วงไปญี่ปุ่นจะส่งออกได้เฉพาะมะม่วงสดพันธุ์หนังกลางวัน (งาช้าง) น้ำดอกไม้ แรด และพิมเสน